กำหนดการเชิงเส้น

กำหนดการเชิงเส้น

กำหนดการเชิงเส้น (linear programming)  เป็นวิธีการทางคณิตศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งได้พัฒนาขึ้นตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2483 เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด คำว่า ทรัพยากร ในที่นี้หมายถึง เครื่องจักร กำลังคน วัตถุดิบ เวลา หรือเงินลงทุนก็ได้ วิธีการของกำหนดการเชิงเส้นทำให้เราทราบว่าควรตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนอย่างไร จึงจะได้ผลกำไรสูงสุดภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนที่มีอยู่ ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้วิธีการกำหนดการเชิงเส้นในหลายวงการ เช่น

ทางด้านการผลิต นำไปช่วยในการวางแผนการผลิตเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ในขณะที่เครื่องจักรและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีอยู่จำนวนจำกัด หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการวางแผนการผลิตเพื่อให้เกิดต้นทุนการผลิตต่ำสุด ภายใต้ข้อจำกัดของเครื่องมือและวัตถุดิบที่มีอยู่
ทางด้านโภชนาการ นำไปช่วยในการวางแผนการจัดอาหารเพื่อให้ร่างกายได้รับคุณค่าทางอาหารเพียงพอกับความต้องการ โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
ทางด้านการศึกษา นำไปช่วยในการวางแผนการบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดเช่น สามารถรับนักเรียน เข้าศึกษาได้มากที่สุดภายใต้ข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครู และสถานที่ เป็นต้น

ทางด้านประสิทธิภาพในการทำงาน นำไปช่วยในการจัดเวลาที่มีอยู่จำกัดให้สามารถจัดกิจกรรมที่มีอยู่หลาย ๆ อย่าง เกิดผลที่มีประโยชน์สูงสุด
นอกจากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว กำหนดการการเชิงเส้นยังสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านอื่น ๆ เช่น ทางด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางด้านสังคมศาสตร์ เป็นต้น

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์

ความคิดพื้นฐาน และเทคนิคของกำหนดการเชิงเส้นช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์หรือประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้ตัดสินใจนั้น แสดงว่า การแก้ปัญหากำหนดการเชิงเส้นจึงเกี่ยวกับการหาค่าต่ำสุด หรือสูงสุดภายใต้เงื่อนไขข้อบังคับ โดยการนำเอาเงื่อนไขข้อบังคับมาสร้างในรูปแบบจำลองกำหนดการเชิงเส้น

แบบจำลองกำหนดการเชิงเส้นประกอบด้วย 2 ส่วนดังนี้

  1. ส่วนที่เราต้องนำไปหาค่าที่เกิดประโยชน์ หรือประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนนี้จะอยู่ในรูปสมการ จึงเรียกส่วนนี้ว่า “สมการจุดประสงค์” หรือ “  ฟังก์ชันจุดประสงค์
  2. ส่วนที่เป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ส่วนนี้อยู่ในรูปอสมการที่แสดงถึงเงื่อนไขบังคับ หรือข้อจำกัด “ จึงเรียกส่วนนี้ว่า ” อสมการข้อจำกัด หรือ “เงื่อนไขบังคับ”

 หลักการ

  1. กำหนดให้ P(เป็นข้อความอื่นก็ได้ตามแต่เห็นสมควร) แทนปริมาณที่โจทย์ถามหาค่าต่ำสุด หรือสูงสุด    และ x , y แทนปริมาณที่ P ขึ้นอยู่กับมัน
  1. อ่านข้อมูลจากโจทย์แล้วสรุปเป็นข้อมูลง่ายๆ
  2. สร้างสมการจุดประสงค์ เนื่องจากสมการจุดประสงค์ เป็นส่วนที่เราต้องนำไปหาค่าที่เกิดประโยชน์
    หรือประสิทธิภาพสูงสุด จะได้ สมการจุดประสงค์ P = ax + by เมื่อ a , b E R
  3. สร้างอสมการข้อจำกัด เนื่องจากอสมการข้อจำกัดเป็นส่วนที่เป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
    ส่วนนี้อยู่ในรูปอสมการที่แสดงถึงเงื่อนไขบังคับ หรือข้อจำกัด จะได้ อสมการข้อจำกัดในเทอมของ x
    และเทอมของ y

ตัวอย่างที่ 1  บริษัทแห่งหนึ่งผลิตอ่างล้างหน้า 2 ชนิด คือ ชนิด Aและ ชนิดB โดยที่อ่างล้างหน้าชนิดA แต่ละอ่างจะต้องเสียเวลาในการผลิตโดยใช้เครื่องจักร 2 ชั่วโมง ใช้แรงงานคน 1 ชั่วโมง และขายได้กำไรอย่างละ 30 บาท สำหรับอ่างล้างหน้าชนิด B แต่ละอ่างจะต้องเสียเวลาผลิตโยการใช้เครื่องจักร 1 ชั่วโมง ใช้แรงงานคน 3 ชั่วโมง และขายได้กำไร 40 บาท ถ้าวันหนึ่งการผลิตโดยใช้เครื่องจักร และใช้แรงงานคนทำงานไม่เกิน 6 ชั่วโมงและ 8 ชั่วโมง ตามลำดับต้องการทราบว่าบริษัทแห่งนี้ควรผลิตอ่างล้างหน้า
แต่ละชนิดเป็นจำนวนเท่าไรในแต่ละวัน จึงจะได้กำไรมากที่สุด จงสร้างแบบจำลองกำหนดการเชิงเส้น

วิธีทำ   1. กำหนดให้           P แทนปริมาณที่โจทย์ถามหาค่าต่ำสุด หรือสูงสุด

                                                P แทนกำไรทั้งหมด

                                และ        x , y แทนปริมาณที่ P ขึ้นอยู่กับมัน

                                x แทนจำนวนอ่างล้างหน้าชนิด A ที่ผลิตใน 1 วัน

y แทนจำนวนอ่างล้างหน้าชนิด B ที่ผลิตใน 1 วัน

  1. อ่านข้อมูลจากโจทย์แล้วสรุปเป็นข้อมูลง่ายๆ ได้ดังนี้

 

ชนิดของอ่างล้างหน้า ใช้เครื่องจักร

(อ่าง/ชม.)

ใช้แรงงานคน

(อ่าง/ชม.)

กำไร

(บาท/อ่าง)

จำนวนที่ผลิตในแต่ละวัน
A 2 1 30 x 0
B 1 3 40 y 0

3.สร้างสมการจุดประสงค์ เนื่องจากสมการจุดประสงค์เป็นส่วนที่เราต้องนำไปหาค่าที่เกิดประโยชน์ หรือประสิทธิภาพสูงสุด

  จะได้  สมการจุดประสงค์  P  = 30x + 40y

  1. สร้างอสมการข้อจำกัด เนื่องจากอสมการข้อจำกัดเป็นส่วนที่เป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดส่วนนี้อยู่ในรูปอสมการที่แสดงถึงเงื่อนไขบังคับหรือข้อจำกัด

4.1 เวลาที่ใช้เครื่องจักรผลิตอ่างล้างหน้าชนิด A                     2x

เวลาที่ใช้เครื่องจักรผลิตอ่างล้างหน้าชนิด B                     1y

เนื่องจากโจทย์บอกว่าใช้เครื่องจักรทำงานในแต่ละวันไม่เกิน    6 ชั่วโมง

จะได้  2x + y ≤ 6

4.2 เวลาที่ใช้แรงงานคนผลิตอ่างล้างหน้า ชนิด A                                1x ชั่วโมง

เวลาที่ใช้แรงงานคนผลิตอ่างล้างหน้า ชนิด B                  3y ชั่วโมง

จะได้   x + 3y  ≤ 8

4.3 จำนวนอ่างล้างหน้าจะต้องไม่เป็นลบ

จะได้   x  ≥ 0, y ≥ 0

แบบจำลองกำหนดการเชิงเส้นประกอบไปด้วย

  1. สมการจุดประสงค์ คือ กำไรที่ต้องการมากที่สุด มีสมการ คือ P = 30x + 40y
  2. อสมการข้อจำกัด คือ

2x+ y  ≤ 6

x+3y ≤ 8

x   ≥ 0

y   ≥ 0

ดังนั้น สามารถเขียนตารางสรุปเพื่อให้ชัดเจนได้ดังนี้

ชนิดของอ่างล้างหน้า ใช้เครื่องจักร

(อ่าง/ชม.)

ใช้แรงงานคน

(อ่าง/ชม.)

กำไร

(บาท/อ่าง)

จำนวนที่ผลิตในแต่ละวัน
A 2 1 30 x ≥ 0
B 1 3 40 y ≥ 0
ข้อจำกัด 2x + y ≤ 6 x + 3y ≤ 8 P = 30x + 40y

 

การแก้ปัญหากำหนดการเชิงเส้นโดยวิธีการใช้กราฟ

ในการแก้ปัญหากำหนดการเชิงเส้นนั้นต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ส่วนที่เป็นเป้าหมาย จะอยู่ในรูปของ    สมการจุดประสงค์  (ในเอกสารเล่มนี้ใช้ P)
                ส่วนที่ 2 ส่วนที่เป็นข้อจำกัด  จะอยู่ในรูปของ    อสมการข้อจำกัด
                ซึ่งเป็นการแปลงสถานการณ์ปัญหาให้เป็นปัญหาทางคณิตศาสตร์ จากนั้นจึงหาคำตอบของปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ ในการศึกษาครั้งนี้ใช้การกราฟช่วยในการหาคำตอบ

ข้อกำหนด

  1. ถ้ากำหนดการเชิงเส้น มีคำตอบที่เหมาะสมเพียงคำตอบเดียว แล้วคำตอบนั้นจะต้องอยู่ที่จุดหักมุมกราฟ
    ของระบบอสมการข้อจำกัด
  2. ถ้าสมการจุดประสงค์มีค่าน้อยที่สุด หรือมากที่สุด ณ. จุดหักมุม 2 จุดที่มีแขนของจุดหักมุมร่วมกัน
    แล้วสมการจุดประสงค์ดังกล่าวจะมีค่าน้อยที่สุด หรือมากที่สุด ณ. จุดทุกจุดบนส่วนของเส้นตรง
    ที่เชื่อมจุดหักมุม 2 จุดนั้น
    แสดงว่าคำตอบที่เหมาะสม จะมีจำนวนนับไม่ถ้วน

ลองสมมติให้กราฟของระบบอสมการข้อจำกัด เป็นดังนี้

35456

นำความจริงจากข้อกำหนดมาวิเคราะห์ กราฟของระบบสมการข้อจำกัดดังนี้

  1. จุดทุกจุดในบริเวณส่วนที่แรเงาจะสอดคล้องกับระบบอสมการข้อจำกัด ถูกเรียกว่า
    “เซตของคำตอบที่เป็นไปได้”
  2. 2. จากเซตของคำตอบที่เป็นไปได้ เราจะนำไปหาจุดใดที่สดคล้องกับสมการจุดประสงค์ที่ให้ค่าน้อยที่สุด
    หรือค่ามากที่สุดจากกราฟของระบบอสมการข้อจำกัด
  3. จุดทุกจุดในบริเวณส่วนที่แรเงา มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะทำให้สมการจุดประสงค์มีค่าน้อยที่สุด
    หรือมากที่สุด แต่จุดหักมุมมีโอกาสเป็นไปได้มากกว่า
  4. จุดในบริเวณส่วนที่แรเงาที่ทำให้สมการจุดประสงค์มีค่าน้อยที่สุดหรือมากทีสุดถูกเรียกว่า
    คำตอบที่เหมาะสม
  5. ถ้ากำหนดการเชิงเส้นมีคำตอบเดียว แล้วจุด A,B,C และ O จุดใดจุดหนึ่ง จะทำให้สมการจุดประสงค์
    มีค่าน้อยที่สุด หรือมากที่สุด
  6. ถ้าจุด A และ B ทำให้สมการจุดประสงมีค่าน้อยที่สุด แล้ว จุดทุกจุดที่อยู่บนส่วนของเส้นตรง AB จะทำ
    ให้สมการจุดประสงค์ มีค่าน้อยที่สุดหรือมากที่สุดด้วย แสดงว่าคำตอบที่เหมาะสมจะมีจำนวนนับไม่ถ้วน

เทคนิคการแก้ปัญหากำหนดการเชิงเส้นโดยวิธีใช้กราฟ

หลักการ

  1. ถ้าโจทย์ที่ให้มาเป็นเรื่องราวที่ให้มาเป็นเรื่องราวที่ไม่ได้บอกตัวแปรออกมาตรงๆ เราซึ่งเป็นผู้อ่านโจทย์
    จะต้องตั้งตัวแปรให้เป็นปริมาณต่างๆ จากโจทย์และสร้างสมการจุดประสงค์ กับอสมการข้อจำกัด
  2. เขียนกราฟของระบบอสมการข้อจำกัด เพื่อแสดงจุดทุกจุดในบริเวณส่วนที่แรเงาที่สอดคล้องกับระบบ
    อสมการข้อจำกัด
  3. หาจุดหักมุมในบริเวณส่วนที่แรเงา
  4. นำจุดหักมุมแต่ละจุดไปแทนค่าในสมการจุดประสงค์

4.1 ถ้าได้ค่าน้อยที่สุด (มากที่สุด) เพียงคำตอบเดียว แล้วค่านั้นคือ ค่าน้อยที่สุด (มากที่สุด)
ของสมการจุดประสงค์

4.2 ถ้ามีจุดหักมุม 2 จุด ที่มีแขนของจุดหักมุมร่วมกันทำให้สมการจุดประสงค์ มีค่าน้อยที่สุด
(มากที่สุด)

แล้ว จุดทุกจุดบนแกนของมุมนั้น คือ ค่าน้อยที่สุด(มากที่สุด) ของสมการจุดประสงค์ แสดงว่าคำตอบที่เหมาะสม จะมีจำนวนนับไม่ถ้วน

ตัวอย่างที่ 2 กำหนดให้สมการจุดประสงค์ คือ P = 30x + 50y

และอสมการข้อจำกัด คือ  2x + y ≤ 10

x + 2y ≤  11

x     ≥ 0

y     ≥ 0

แล้วจงหาว่า P มีค่ามากที่สุดเป็นเท่าไร

วิธีทำ เขียนกราฟของระบบอสมการข้อจำกัด พร้อมจุดหักมุม

965438

จากรูปจะเห็นได้ว่าจุดหักมุมของรูปสี่เหลี่ยมคือ (0,0) , (0,5.5) , (3,4) และ (5,0) นำจุดหักมุมแทนค่าในจุดประสงค์ ดังตารางต่อไปนี้

จุดหักมุม (x , y) P = 30x + 50y
(0,0)

(0,5.5)

(3,4)

(5,0)

P = 30(0) + 50(0) = 0

P = 30(0) + 50(5.5) = 275

P = 30(3) + 50(4) = 290

P = 30(5) + 50(0) = 150

ดังนั้น จากตาราง จะพบว่า ค่ามากที่สุดของ P คือ 290 เมื่อ x = 3 และ y = 4

ตัวอย่างที่ 3  กำหนดให้สมการจุดประสงค์ คือ P = 4x + 3y

และอสมการข้อจำกัด คือ        2x + 3y  ≥ 12

2x + y  ≥ 8

x      ≥  0

y      ≥  0

แล้วจงหาว่า P มีค่าน้อยที่สุด เป็นเท่าไร

  วิธีทำ     เขียนกราฟของระบบอสมการข้อจำกัด พร้อมจุดหักมุม

741128

จากรูปจะเห็นได้ว่าจุดหักมุมของรูปเหลี่ยมคือ  (6, 0) (3,2)  และ(0,8)นำจุดหักมุมแทนค่าในสมการจุดประสงค์  ดังตารางต่อไปนี้

จุดหักมุม (x , y ) P = 4x + 3y
(6,0)

(3,2)

(0,8)

P = 4(6) + 3(0) = 24

P = 4(3) + 3(2) = 18

P = 4(0) + 3(8) = 24

ดังนั้น  จากตารางจะพบว่า  ค่าน้อยที่สุดของ P คือ18 เมื่อ x = 3 และ y = 2

ตัวอย่างที่  4     กำหนดให้สมการจุดประสงค์ คือP = 2x + 3y

และอสมการข้อจำกัด  คือ  x + y  ≥ 4       ,    5x + 2y ≤ 25
x        ≤ 5 ,        y  ≤ 5
x ≥  0   ,            y    ≥ 0

แล้วจงหาว่า P มีค่ามากที่สุดเป็นเท่าไร

   วิธีทำ เขียนกราฟของระบบอสมการข้อจำกัด พร้อมจุดหักมุม

776211564

จากรูปจะเห็นได้ว่า จุดหักมุมของรูปเหลี่ยม คือ (0,4) , (0,5) , (3,5) , (5,0) และ (0,4) นำจุดหักมุมแทนค่าในสมการจุดประสงค์ ดังตารางต่อไปนี้

จุดหักมุม (x , y ) P = 2x + 3y
(0,4)

(0,5)

(3,5)

(5,0)

(4,0)

P = 2(0) + 3(4) = 12

P = 2(0) + 3(5) = 15

P = 2(3) + 3(5) = 21

P = 2(5) + 3(0) = 10

P = 2(4) + 3(0) = 8

ดังนั้น จากตารางจะพบว่าค่ามากที่สุดของ P คือ 21 เมื่อ x = 3 และ y = 5

ตัวอย่างที่ 5  กำหนดให้สมการจุดประสงค์ คือ P = x + 4y

และอสมการข้อจำกัด คือ             x + 2y   ≥ 8

5x + 2y  ≥ 20

x + 4y ≤ 22

x   ≥ 0 ,                 y  ≥ 0

แล้วจงหาว่า P มีค่าน้อยที่สุดและค่ามากที่สุดเป็นเท่าไร

วิธีทำ  เขียนกราฟของระบบอสมการข้อจำกัด พร้อมจุดหักมุม

5435486

จากรูปจะเห็นได้ว่าจุดหักมุมของรูปสี่เหลี่ยม คือ (3,2.5) , (2,5) , (22,0) และ (8,0)

นำจุดหักมุมแทนค่าในสมการจุดประสงค์ ดังตารางต่อไปนี้

จุดหักมุม (x , y ) P = x + 4y
(3,2.5)

(2,5)
(22,0)
(8,0)

P = 3+ 4(2.5) = 13

P = 2+ 4(5) = 22

P = 22+ 4(0) =22

P = 8+ 4(0)  = 8

จากตารางจะพบว่า

  1. ค่าที่น้อยที่สุดของ P คือ 8 เมื่อ x = 8 และ y = 0
  2. ค่ามากที่สุดของ P คือ 22 ณ. จุดหักมุม (2,5) และ (22,0) ซึ่งเป็นจุดหักมุมที่มีแขนของจุดมุมร่วมกัน

ดังนั้น จุดทุกจุดบนส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมจุดหักมุม (2,5)และ(22,0)จะทำให้ค่ามากที่สุดของ P คือ 22

อ้างอิง : https://www.opendurian.com/exercises/pat1_mar_55/19/

http://www.tewlek.com/anet_linearp.html

ใส่ความเห็น